ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาแรกของประเทศไทย ที่เปิดให้มีการเรียนการสอนด้านธรณีวิทยาในระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2501 และรับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้จัดตั้งเป็นภาควิชาธรณีวิทยาขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2502 ปัจจุบันเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก ในหลักสูตร ธรณีวิทยา และ โลกศาสตร์ (วิทยาศาสตร์โลก)

ภาควิชาธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 มีศาสตราจารย์ ดร. แถบ นีละนิธิ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และรักษาการหัวหน้าภาควิชาธรณีวิทยา (สมัยนั้นเรียกแผนกวิชา) มีศาสตราจารย์ ดร. Th. H. F. Klompe ชาวฮอลันดา เป็นผู้ร่างหลักสูตร ร่วมกับกรมทรัพยากรธรณี (กรมโลหกิจเดิม) ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 จึงได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้จัดตั้งเป็นภาควิชาธรณีวิทยาขึ้นในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างเป็นทางการ ตามข้อบังคับจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการจัดเพิ่มแผนกวิชาในคณะต่างๆ แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2502 (ประกาศ ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2502)

ในช่วงต้นของการพัฒนาภาควิชา ภาควิชาธรณีวิทยาได้รับการช่วยเหลือทั้งด้านอุปกรณ์การสอน และการพัฒนาบุคลากร จากองค์กรทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก ปีแรกที่เปิดดำเนินการ ยังไม่มีอาคารสำนักงานของตนเอง ได้อาศัยห้อง 111 ตึกชีววิทยา และห้อง 216 ตึกเคมี 2 เป็นห้องเรียน ห้องสมุดได้อาศัยจากหลายแห่ง เช่น หอสมุดกลาง ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ ห้องสมุดภาควิชาเคมี ห้องสมุดภาควิชาชีววิทยา และห้องสมุดกรมทรัพยากรธรณี เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากภาควิชาธรณีวิทยามีอาจารย์ประจำอยู่เพียงคนเดียว คือ ศาสตราจารย์ ดร. Klompe การสอนนั้นย่อมจะต้องหนักบ้างเป็นธรรมดา แต่ก็มีอาจารย์พิเศษจากหน่วยงานต่าง ๆ มาช่วยสอนด้วย เช่น อาจารย์ไสว สุนทโรวาท จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ชุมเจษฎ์ จรัลชวนะเพท ผู้เชี่ยวชาญธรณีวิทยา จากกรมทรัพยากรธรณี ดร. C.Y. Li นักธรณีวิทยาจาก ECAFE ศาสตราจารย์ ม.จ. ประสมสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นต้น สำหรับแผนที่ ตัวอย่างแร่หิน และอุปกรณ์การสอนอย่างอื่นที่ใช้ในการสอนนั้น ศาสตราจารย์ ดร. Klompe ได้นำติดตัวมาจากต่างประเทศบ้าง และได้รับการอุปถัมภ์จากกรมทรัพยากรธรณีบ้าง

ปี พ.ศ. 2502 ได้ย้ายที่ทำการภาควิชา จากห้อง 111 ตึกชีววิทยาหลังเก่า ไปอยู่ห้อง 233 ตึกชีววิทยาหลังใหม่ ซึ่งมีขนาดกว้างกว่าเดิม 3-4 เท่า พอมีเนื้อที่แบ่งเป็นห้องพักอาจารย์ได้ 1 ห้อง ห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ได้ 1 ห้อง และจัดเป็นที่อ่านหนังสือ โดยมีตู้ โต๊ะ วาง 3-4 ตัว เรียกว่าพอเป็นห้องสมุดเล็ก ๆ ได้ บางครั้งก็อาศัยเป็นห้องปฏิบัติการ ดูแร่และหินในห้องนั้นได้ด้วย การเรียนการสอนก็ยังใช้อาจารย์ชุดเดิม และสถานที่เรียนเดิมทั้งหมด

กลางปี พ.ศ. 2503 ได้ย้ายที่ทำการภาควิชาอีกครั้งมาอยู่ที่ตึกห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ (อาคารแถบ นีละนิธิ) ซึ่งสร้างเสร็จใหม่ ๆ เป็นอาคาร 4 ชั้นที่ทันสมัย มีหน้าต่างกระจกรอบด้าน ที่ทำการภาควิชาฯ อยู่บนชั้นที่ 3 และ 4 ของตึกห้องสมุดฯ ตั้งแต่ได้ย้ายที่เรียนและที่ทำการมาอยู่ที่ตึกห้องสมุดฯ แล้ว ภาควิชาธรณีวิทยาได้พัฒนาตัวเองเกือบทุกด้าน ตั้งแต่สถานที่ทำงาน ได้จัดให้เป็นสัดเป็นส่วน ห้องพักอาจารย์ ห้องธุรการ ห้องสมุด ห้องเก็บของ ห้องทำ Thin Section ห้องปฏิบัติการ และห้องเรียนที่ทันสมัย ซึ่งส่วนมากใช้ฉายสไลด์ และภาพยนตร์ได้ด้วย อุปกรณ์การเรียนการสอนต่าง ๆ เช่น ตัวอย่างแร่และหิน กล้องจุลทรรศน์ และเครื่องใช้ในสนามเรามีครบครัน หนังสือนั้นได้รับบริจาคจากองค์การ USOM เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งรถยนต์จิ๊ปวิลลี่หน้ากบ 1 คัน และกล้องจุลทรรศน์อีก 2-3 กล้อง เป็นต้น ในปีนี้เองภาควิชาธรณีวิทยา ได้มีอาจารย์ประจำชาวต่างประเทศมาสอนเพิ่มอีก 1 คน คือ ดร. W.F. Beeser เป็นชาวฮอลันดา ชาติเดียวกับ ศาสตราจารย์ ดร. Klompe นั้นเอง ดร.W.F. Beeser ผู้นี้ภายหลังจากได้มาประจำทำการสอนแล้ว ได้ช่วยแบ่งเบางานด้านวิชาการของ ศาสตราจารย์ ดร. Klompe ไปได้มาก โดยเฉพาะวิชา Optics, Mineralogy, Petrography และ Fieldwork ต่อมาภายหลังจากการสอนมาครบ 4 ปีตามสัญญาแล้ว ได้ต่ออายุสัญญาจ้างอีกครั้งโดยไม่มีกำหนด ระยะเวลา ให้สอนไปจนกว่าจุฬาฯ จะบอกเลิกจ้าง ดร. Beeser ได้ทำการสอนที่ภาควิชาธรณีวิทยา มาตลอดตั้งแต่ต้น จนกระทั่งถึงแก่กรรม เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2525 รวมเวลาทำการสอนได้ประมาณ 22 ปีเศษ

ปี พ.ศ. 2509 คณะวิทยาศาสตร์ได้รับงบประมาณหมวดค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้างสำหรับสร้างตึกที่ทำการ ภาควิชาธรณีวิทยา และภาควิชาพฤกษศาสตร์ เป็นอาคารถาวร 4 ชั้น ทรงปั้นหยา ใช้เวลาก่อสร้างอยู่ประมาณ 1 ปี จึงแล้วเสร็จ คือ ตึกภาควิชาธรณีวิทยา และภาควิชาพฤกษศาสตร์ ในปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2510 ภาควิชาธรณีวิทยาจึงได้ย้ายที่ทำการและอาคารเรียนอีกครั้ง จากตึกห้องสมุดคณะฯ มาอยู่ตึกธรณีวิทยาซึ่งสร้างเสร็จและส่งมอบเรียบร้อยแล้ว เป็นการถาวรตลอดมา จนกระทั่งปัจจุบัน

ปี พ.ศ. 2520 ภาควิชาธรณีวิทยา เริ่มเปิดให้มีการเรียนการสอน ในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สาขาวิชาธรณีวิทยาเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2541 ภาควิชาธรณีวิทยาได้มีการพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง โดยเปิดหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต (ปริญญาเอก) ในสาขาวิชาธรณีวิทยา และได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย ให้ทำการรับนิสิตได้ในปีถัดไป และปี พ.ศ. 2542 ภาควิชาธรณีวิทยาได้รับการอนุมัติเปิดหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาโลกศาสตร์ อีกหนึ่งหลักสูตร

สัญลักษณ์ของภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการศึกษาแรกของประเทศไทยที่เปิดให้มีการเรียนการสอนด้านธรณีวิทยาในระดับมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ โดยเปิดทำการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2501 มีลักษณะเป็นรูปของบรรพชีวินหรือซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของแอมโมไนต์และค้อนธรณีวิทยา ปัจจุบันยังไม่มีบันทึกว่า เพราะเหตุใดทางภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเลือกใช้ทั้งสิ่งเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน แต่เป็นที่ทราบกันดีว่า สำหรับค้อนธรณีวิทยานั้น เป็นอุปกรณ์สำคัญประจำตัวของนักธรณีวิทยาทุกคน ดังที่ปรากฏในบทเพลงประจำกลุ่มของกลุ่มนิสิตและนักศึกษาสาขาวิชาธรณีวิทยาที่ยังมีการสืบทอดและขับร้องให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าใหม่ทุกคนได้เรียนรู้

กรมทรัพยากรธรณี เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่มีการทำงานและการศึกษาด้านธรณีวิทยา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศตั้ง กรมราชโลหกิจและภูมิวิทยา ขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 1 มกราคม ร.ศ. 110 (พ.ศ. 2434) นับจนถึงขณะนี้ เป็นเวลา 115 ปีแล้ว และต่อมาได้ย้ายสังกัดไปขึ้นกับกระทรวงต่าง ๆ ตามยุคสมัย 6 กระทรวง คือ กระทรวงเกษตราธิราช กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมทรัพยากรธรณี เมื่อครั้งสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ภายหลังจากการปฏิรูประบบราชการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 กรมทรัพยากรธรณี ได้ย้ายมาสังกัด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

พยาธิกายวิภาค มหัพภาค มหพยาธิวิทยา วิทยาเอ็มบริโอ เซลล์พันธุศาสตร์ กายภาพ จุลภาค วิทยาเนื้อเยื่อ จุลกายวิภาคศาสตร์ มหกายวิภาคศาสตร์ ปรสิตวิทยา สังขวิทยา รา ปักษีวิทยา แมลง พยาธิตัวแบน แมงกะพรุน ชีววิทยาของการเจริญ ยีสต์ สรีรวิทยาของพืช ปรสิต ดอกไม้ทะเล ปลาการ์ตูน ทฤษฎีเซลล์ พันธุศาสตร์ประชากร พฤติกรรมวิทยา คัพภวิทยา เซลล์วิทยา อุทกวิทยา หอดูดาวเกิดแก้ว Earth Sciences Geology แถบ นีละนิธิ ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ กระทรวงเศรษฐการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ร.ศ. 110 มีโซโซอิก Photosynthesis โฮโลซีน บรมยุคฮาเดียน ธรณีกาล โลกศาสตร์ อุลกมณี เหล็กไหล ไม้กลายเป็นหิน หลุมยุบ ดินถล่ม รอยเลื่อน ธรณีพิบัติภัย จักรวาล ธรณีสัณฐานวิทยา ธรณีวิทยาโครงสร้าง การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แมนเทิล The Blue Marble สถิตยศาสตร์ของไหล สถิตยศาสตร์ Nobel Prize in Physics ประวัติศาสตร์ของฟิสิกส์ ไฟฟ้าสถิตย์ ของไหล ก๊าซ สปิน (ฟิสิกส์) ปฏิยานุภาค อันตรกิริยาพื้นฐาน แบบจำลองมาตรฐาน โพลาไรเซชัน เลเซอร์ รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า การกระเจิง โฟตอนิกส์ ฟิสิกส์ทัศนศาสตร์ ฟิสิกส์โมเลกุล ฟิสิกส์อะตอม กฎความโน้มถ่วงสากล สัมพัทธภาพทั่วไป ฟิสิกส์พลังงานสูง ฟิสิกส์พลังงานสูง ฟิสิกส์อะตอม โมเลกุล และทัศนศาสตร์ หลุมดำ ความเร็วแสง ค่าคงที่ของพลังค์ ทฤษฎีสนามควอนตัม เอนโทรปี การแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สมการของแมกซ์เวลล์ คลื่น กฎการอนุรักษ์ กฎการอนุรักษ์ แรง (ฟิสิกส์) ความยาว การเคลื่อนที่ ทฤษฎีเคออส กลศาสตร์แบบลากรางช์ เอนริโก แฟร์มี สมมาตรยิ่งยวด CERN Large Hadron Collider

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
241
242
243
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24278